วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Big Data

 

Big Data 

บิ๊กดาต้า (Big Data) คือคำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

คุณลักษณะของ Big Data (4V)

  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ 

แล้วทำไม Big Data ถึงมีความสำคัญ ?

ปัจจุบันอะไรๆก็ Big data แล้วทำไมมันถึงสำคัญ แท้จริงแล้วความสำคัญของ Big data ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่องค์กรของคุณมีอยู่ แต่เป็นสิ่งที่คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรได้อย่างไร

Big Data ช่วยให้คุณสามารถใช้ข้อมูลจากทุกแหล่งที่เป็นไปได้ และวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น (Customer Insight) ลดต้นทุนได้ ลดเวลาระยะเวลาดำเนินการ และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันหลายบริษัทได้นำ Big Data มาประยุกต์ใช้ในส่วนของการขายและการตลาดของธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการรองรับ Big Data แบบที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ และเห็นอยู่บ่อยๆ ก็อย่างเช่น Google Analytics หรือ ระบบ ERP เป็นต้น

ขอยกตัวอย่างเช่น บริษัท E-Commerce ชื่อดังของโลก ได้นำ Big Data ไปใช้ในการแนะนำสินค้าแบบอัตโนมัติและปรับราคาสินค้าแบบ Real-time (Pricing Engine) ให้ตรงกับจุดที่ลูกค้าเห็นค่าของสินค้า (Value) และเกิดความเต็มใจที่จะจ่าย โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์และเลือกซื้อสินค้า ข้อมูลการซื้อในอดีต ข้อมูลการค้นหาข้อมูลการเลือกซื้อสินค้าผ่านทาง Search Engine ราคาสินค้าคู่แข่ง จำนวนสินค้าที่เหลืออยู่ เพื่อเพิ่มยอดขายในกับธุรกิจจากการที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น







วิทยาการข้อมูล(data science)

  วิทยาการข้อมูล(data science)

      Data science ในตำราเรียนใช้ชื่อไทยว่า "วิทยาการข้อมูล"

บทนี้จะกล่าวถึง Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีค่ามากมาย

และมีบทบาทมากในยุค 4.0 นี้ ทั้งภาครัฐและเอกชน

    ถ้านึกไม่ออกก็นึกถึงเวลาเราเล่นเนตค้นหาใน Google จะพบข้อมูลมากมายมหาศาล ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ในธุรกิจเราได้ ก็เพราะเหตุนี้ศาสตร์ด้านข้อมูล จึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากอย่างยิ่งยวดจึงไม่น่าแปลกใจที่ทำให้อาชีพนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล (ชื่ออังกฤษ data scientist) มันมีบทบาทสำคัญ และเป็นอาชีพที่มีเสน่ห์และน่าสนใจที่สุดยุคศตวรรษที่ 21

.    Data science ถ้าตามหนังสือเขาให้นิยามว่า"เป็นการศึกษาถึงกระบวนการ วิธีการ หรือเทคนิค ในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาล มาประมวลผล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ เข้าใจปรากฏการณ์หรือตีความ ทำนายหรือพยากรณ์ ค้นหารูปแบบหรือแนวโน้มจากข้อมูลและสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสม หรือใช้ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด"

สำหรับงาน Data science เขาจะมีกระบวนตามขั้นตอนดังนี้

- ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ

- เก็บรวบรวมข้อมูล

- การสำรวจข้อมูล

- การวิเคราะห์ข้อมูล (analyze the data)

- การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เห็นเป็นภาพ (communicate and visualize the results)

    

Data Science คืออะไร? สายงานนี้ต้องทำอะไรบ้าง

 มาดูกันชัดๆ


หลังจากเมื่อประมาณปีที่แล้ว แอดมินวางแผนไว้ว่าจะ ค่อย ๆ นำเนื้อหาด้าน Data Scienceมาให้ได้เรียนรู้กัน ตั้งแต่:

แอดมองว่าก่อนหน้านี้เราโฟกัสหัวข้อที่อาจจะต้องมีความรู้พื้นฐานมาแล้วระดับหนึ่ง ทำให้พลาดที่จะเล่าเรื่องที่สำคัญมาก ๆ และอาจจะสำคัญที่สุดในการทำ Data Science เลยก็ได้นั่นคือ…

 

Data Science คืออะไร

หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) > การจัดการข้อมูล (Manage) >  การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) > ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจ (Decision)

สำหรับ Data Science ในภาษาไทย ถ้าแปลตรงตัวก็คือ “วิทยาศาสตร์ข้อมูล” แต่แอดชอบคำว่า “วิทยาการข้อมูล” จากคอร์สของมหาวิทยาลัยในไทยแห่งหนึ่งที่แอดหาข้อมูลมาล่าสุด คิดว่าฟังดูคล้าย ๆ กับ “วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)” ดีครับ

5G/6G,lot,ai

 จิรพิพรรธํ คงสำราญ 5/6 เลขที่1

1. 5G นั้นพัฒนามาไกลกว่ามาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ตอนนี้เป็นอย่างมาก อย่างแรกคือเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า 4G อย่างที่เรียกว่าเทียบกันไม่เห็นฝุ่น โดย 5G จะมีความเร็วประมาณ 20Gbps เทียบกับ 4G แล้วจะเร็วกว่า 100-200 เท่า! (4G อยู่ที่ 10-20 Mbps) ถ้าเปรียบเทียบเป็นภาพยนตร์ HD สักเรื่องบน 4G ถ้าไปอยู่บน 5G ก็จะดูหนังแบบ 8K ได้ประมาณ 400 เรื่องในเวลาเดียวกัน และนั้นอาจจะฟังดูน่าทึ่งแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่จบเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ 5G นั้นน่าสนใจอีกอย่างคือ Low Latency Rate หรือความไวในการตอบสนองของข้อมูล สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G เฉลี่ยใช้งานจริงจะอยู่ราว 100-200ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 100 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎี

2.6g กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา แต่ก็มีการวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าความเร็วของ 6g นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1 TERABIT/วินาที หรือพูดง่ายๆ ก็คือประมาณ 100 เท่าของ 5g และจะมีในเรื่องของ AI เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สำหรับความเร็วในระดับนี้จะทำให้การประมวลผลของ AI เชื่อมต่อการทำงานได้อย่างรวดเร็ว 

3.     Lots คือ ปริมาณหรือขนาดของการซื้อขายในตลาด Forex ล็อตคือจำนวนของหน่วยสกุลเงิน ซึ่ง 1 standard Lot Size เท่ากับ 100,000 หน่วยของสกุลเงินหลัก/สกุลเงินในบัญชีของคุณที่คุณเปิดไว้ (Unites) ซึ่งหมายความว่าหากคุณต้องการซื้อขายคู่เงินใดๆ เช่น GBPUSD จำนวน 1 Lot คุณจะต้องมีเงิน 100,000 $ โดย Lot มีอยู่ 4 ลักษณะคือ Nano Lot size, Micro Lot size, Mini Lot size, และ Standard Lot Size โดย


Nano Lot size มีค่าเท่ากับการเทรด 100 units

Micro Lot size มีค่าเท่ากับการเทรด 1,000 units

Mini Lot size มีค่าเท่ากับการเทรด 10,000 units

Standard Lot Size มีค่าเท่ากับการเทรด 100,000 units

4.aiคือ ปัญญาประดิษฐ์ ถ้าจะสื่อสารกันให้ถูกต้อง AI คือ ระบบประมวลผล ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึก คล้ายความฉลาดของมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำได้ เช่น การแปลภาษา เกิดจากการประมวลผลจากข้อความรับเข้า แล้วแปลงออกมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง เป็นต้น

ฟอร์มของ สุภานันท์ จะแจ้ง

กำลังโหลด…